เนื้อหาในวันนี้
ในวันนี้อาจารย์ได้สอนเนื้อหาต่อ คือบทที่ 3ความหมายของการสื่อสาร
-การสื่อสาร (Communication) คือ กระบวน
การส่งข่าวสาร ข้อมูล จาก ผู้ส่งข่าวสารไปยังผู้รับข่าวสาร มีวัตถุประสงค์เพื่อชักจูงให้ผู้รับข่าวสารมีปฏิกิริยาตอบสนองกลับมา
โดยคาดหวังให้เป็นไปตามที่ผู้ส่งต้องการ
-การติดต่อและแลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ ความคิด ทัศนคติ ทักษะ
และประสบการณ์ระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสารให้มีความเข้าใจ
ที่ตรงกันเพื่อนำไปสู่การดำรงชีวิตที่มีความสุข
ความสำคัญของการสื่อสาร
-ทำให้ได้รับรู้และเข้าใจถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคม
-ทำให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกันทั้ง 2 ฝ่าย
-ทำให้สร้างมิตรภาพที่อบอุ่น
-ทำให้เกิดภาพแห่งความพึงพอใจ
-ช่วยในการพัฒนาอัตมโนทัศน์ เป็นการสร้างความรู้สึกที่ดีต่อตนเองก่อให้เกิดความพอใจในชีวิต
รูปแบบของการสื่อสาร
-รูปแบบการสื่อสารของอริสโตเติล (Aristotle’s Model of
Communication)
-รูปแบบการสื่อสารของลาล์สเวล (Lasswell’s Model of
Communication)
-รูปแบบการสื่อสารของแชนนอนและวีเวอร์ (Shannon
& Weaver’s Model of Communication)
-รูปแบบการสื่อสารของออสกูดและชแรมม์ (C.E Osgood and Willbur
Schramm’s )
-รูปแบบการสื่อสารของเบอร์โล (Berlo’s Model of Communication)
องค์ประกอบของการสื่อสาร
1. ผู้ส่งข่าวสาร (Sender)
2. ข้อมูลข่าวสาร (Message)
3. สื่อในช่องทางการสื่อสาร (Media)
4. ผู้รับข่าวสาร (Receivers)
5. ความเข้าใจและการตอบสนอง
สื่อ
ใช้วิธีพูด-เขียน หรือการนำเสนอในรูปแบบต่างๆ เช่น ใช้รูปภาพ
รวมทั้งเทคโนโลยีต่างๆ โดยวิธีการติดต่อนั้นต้องใช้ตัวกลางต่างๆ เช่น คลื่นเสียง
ตัวหนังสือ แผ่นกระดาษที่มีตัวหนังสือเขียน คลื่นวิทยุโทรทัศน์
ตัวกลางเหล่านี้เรียกว่า สื่อ
โดยการสื่อสารนั้นสามารถใช้สื่อหลายๆอย่างได้พร้อมๆกัน เช่น การเรียน การสอน
ต้องใช้ทั้งหนังสือ กระดาน ภาพ
สาร
คือ เรื่องราวที่รับรู้ร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็น ข้อเท็จจริง
ข้อแนะนำ การล้อเลียน ความปรารถนาดี ความห่วงใย
มนุษย์จะแสดงออกมาให้เป็นที่รับรู้ได้ การสื่อสารจะเกิดขึ้นตามกาลเทศะ
และสภาพแวดล้อมต่างๆในสังคม
วัตถุประสงค์ของการสื่อสาร
1.เพื่อแจ้งให้ทราบ หมายถึง การสื่อสารที่ผู้ส่งสารจะแจ้ง
หรือบอกกล่าวข่าวสาร ข้อมูล เหตุการณ์ ความคิด ความต้องการของตนให้ผู้รับได้ทราบ
2.เพื่อสอนหรือให้การศึกษา หมายถึง
การสื่อสารที่มุ่งจะให้ผู้รับมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมทางด้านองค์ความรู้ ความคิด
สติปัญญา ฉะนั้นจึงมุ่งเน้นไปที่การเรียนการสอนหรือการศึกษาค้นคว้าทางวิชาการโดยเฉพาะ
3.เพื่อสร้างความพอใจหรือให้ความบันเทิง หมายถึง
การสื่อสารที่มุ่งให้เกิดผลทางจิตใจหรืออารมณ์ ความรู้สึกแก่ผู้รับสาร
ซึ่งจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อผู้ส่งสารมีข้อมูลที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้รับสาร
และมีกลวิธีในการนำเสนอเป็นที่พอใจ
4.เพื่อเสนอหรือชักจูงใจ มุ่งเน้นให้ผู้รับสารมีพฤติกรรมคล้อยตาม
หรือยอมรับปฏิบัติตาม
3. จำแนกตามจำนวนผู้สื่อสาร
กิจกรรม
ต่างๆ ของบุคคลและสังคม ถือว่าเป็นผลมาจากการสื่อสารทั้งสิ้น
ดังนั้นการสื่อสารจึงมีขอบข่ายครอบคลุมลักษณะการสื่อสารของมนุษย์ 3 ลักษณะคือ
3.1 การสื่อสารส่วนบุคคล (Intrapersonal Communication)
3.2 การสื่อสารระหว่างบุคคล (Interpersonal Communication)
3.3 การสื่อสารมวลชน (Mass Communication)
การสื่อสารกับตนเอง
-การสื่อสารที่บุคคลเดียวเป็นทั้งผู้ส่งสารและรับสาร
-การคิดหาเหตุผลโต้แย้งกับตนเองในใจ
-เนื้อหาไม่มีขอบเขตุจำกัด
-บางครั้งมีเสียงพึมพำดังออกมาบ้าง
-บางครั้งเกิดความขัดแย้งในใจและไม่อาจตัดสินใจได้
-อาจเป็นการปลอบใจตนเอง การเตือนตนเอง การวางแผน หรือแก้ปัญหาใดๆ
การสื่อสารระหว่างบุคคล
-บุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป
ไม่ถึงกับเป็นกลุ่ม
-เป็นเรื่องเฉพาะระหว่างบุคคล
อาจไม่เกี่ยวข้องหรือเป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น
-อาจเป็นความลับระหว่างผู้ส่งสารกับผู้รับสารเท่านั้น
-สารที่สื่ออาจเปิดเผยหากมีประโยชน์ต่อบุคคลอื่น
การสื่อสารสาธารณะ
-มีเป้าหมายจะส่งสารสู่สาธารณชน
-มีเนื้อหาที่อาจให้ความรู้และเป็นประโยชน์ ให้ความเข้าใจที่ถูกต้อง
-เป็นความคิดที่มีคุณค่าและเปิดเผยได้โดยไม่จำกัดเวลา
-เช่น การบรรยาย การปาฐกถา การอมรม การสอนในชั้นเรียน
การสื่อสารมวลชน
-ลักษณะสำคัญคล้ายการสื่อสารสาธารณะ
-ต้องอาศัยสื่อที่มีอำนาจการกระจายสูง รวดเร็ว กว้างขวาง เช่น วิทยุ
โทรทัศน์ ดาวเทียมและสื่อมวลชน
-ต้องคัดเลือกเฉพาะข้อเท็จจริงหรือข้อคิดเห็นที่เห็นว่าควรนำเสนอ
-อาจสนองความต้องการและความจำเป็นของมวลชนมากหรือน้อยได้
การสื่อสารในครอบครัว
-เป็นการสื่อสารขั้นพื้นฐานของมนุษย์
-ประสิทธิภาพของการสื่อสารขึ้นอยู่กับความตั้งใจดีของสมาชิกในครอบครัว
-คุณธรรมที่ดีงามในครอบครัวจะช่วยพัฒนาการสื่อสารไปในทางดีงามเสมอ
-ต้องยอมรับและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ที่แตกต่างกัน
-คนต่างรุ่นต่างวัยในครอบครัวต้องพยายามทำความเข้าใจให้ตรงกัน
-ควรคำนึงถึงมารยาทที่ดีงามอยู่เสมอ
การสื่อสารในโรงเรียน
-ส่วนใหญ่เป็นการสื่อสารกับบุคคลที่คุ้นเคย
-เนื้อหามักเกี่ยวกับวิชาการ พื้นฐานอาชีพและหลักการดำเนินชีวิต
-มีทั้งการสื่อสารระหว่างบุคคล การสื่อสารในกลุ่มและการสื่อสารสาธารณะ
-อาจใช้เวลานานเพราะเรื่องราวมีปริมาณมาก
-อาจมีโอกาสโต้แย้งถกเถียง ควรยอมรับข้อเท็จจริงและไม่ใช้อารมณ์
-ข้อเท็จจริงและข้อสรุปบางเรื่องไม่ควรนำไปเผยแพร่
-ควรระมัดระวังคำพูดและกิริยามารยาท
-คุณธรรมด้านความซื่อสัตย์และการยอมรับอาวุโสเป็นเรื่องสำคัญ
การสื่อสารในวงสังคมทั่วไป
- เริ่มด้วยการทักทายตามสภาพของสังคมนั้นๆ
- การแสดงความยินดีหรือเสียใจ ไม่ควรมากหรือน้อยจนเกินไป
- การติดต่อกับคนที่ไม่รู้จักมาก่อนควรพูดให้ตรงประเด็นและสุภาพพอควร
ประเมินตนเอง : มีความตั้งใจในการเรียนรู้และเปิดรับเนื้อหาให้ได้มากที่สุด บางครั้งอาจ งง บ้าง
ประเมินเพื่อน : เพื่อนๆบางส่วนตั้งใจ บางส่วนไม่เปิดรับเนื้อหสเนื่องจากยาก และ งง
ประเมินอาจารย์ : เข้าสอนตรงต่อเวลา สรรหากิจกรรมดีๆมาให้ทำ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น